วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม ชุดการสอนเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญนิทาน

กลุ่มสาระภาษาไทย วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความประเภทนิทาน
ชื่อผู้สอน นางสาวพจนีย์ เซี่ยงว่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑ ชั่วโมง


สาระสำคัญ
การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการอ่าน เพื่อศึกษาหาความรู้ เป็นประโยชน์สำหรับการจดจำและทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่าน


จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอ่านจับใจความประเภทนิทานได้
จุดประสงค์นำทาง
๑. นักเรียนอธิบายความหมายของการอ่านจับใจความนิทานได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนอธิบายหลักการอ่านจับใจความสำคัญนิทานได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
การอ่านจับใจความสำคัญ
๑. ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
๒. สรุปหลักการการอ่านจับใจความสำคัญ

กระบวนการการเรียนรู้
๑. ขั้นอธิบายความหมายและวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ
๑.๑ จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งประจำที่ตามปกติ
๑๒ เร้าความสนใจ โดยให้พูดคุยกับนักเรียนเรื่องนิทาน
๑.๓ ครูอธิบายความหมายและหลักการอ่านจับใจความ
๑.๔ อธิบายภาระงานโดยให้ผู้เรียนอภิปรายวิธีการอ่านจับใจความนิทาน
๑.๕ ปฏิบัติภาระงาน อธิบายความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ ตาม
แบบทดสอบก่อนเรียน (ใช้เวลา ๑๐ นาที)
๑.๖ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการช่วยกันเฉลยแบบทดสอบ ร่วมกันในชั้นเรียน
๑.๗ ประเมินผล สรุป และอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
๒. ขั้นอธิบายหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
๒.๑ จัดทำชั้นเรียน โดยการแบ่งนักเรียนเป็นแถวที่นั่งตามปกติ
๒.๒ เร้าความสนใจ โดยแจกนิทานให้นักเรียนแต่แถวเป็นรายบุคคล
๒.๓ กำหนดภาระงานให้นักเรียนแต่ละคนอ่านนิทานและจับใจความสำคัญ
๒.๔ ปฏิบัติภาระงาน อธิบายความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ โดยการอ่าน
นิทานและจับใจความสำคัญ เพื่อตอบคำถาม
๒.๕ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแต่ละคนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียนให้
เพื่อนในห้องฟัง
๒.๖ นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนแต่ละคนบอกคำตอบของตนเอง
๒.๗ ประเมินผล สรุป และอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม

สื่อการเรียนรู้
๑. ใบความรู้
๒. นิทานเรื่องชายหนุ่มกับสิงโต มดกับนกพิราบ ดาบวิเศษ เด็กเลี้ยงแกะ
แกะกับหมาป่า
๓. ใบมอบหมายงานที่ ๑ ใบมอบหมายงานที่ ๒
๔. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๕. ชุดการสอน

การวัดผลและการประเมินผล
วิธีการวัดผล
๑. วัดผลจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
๒. วัดผลจากการแบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
๓. วัดผลจาการทำแบบทดสอบ
การประเมินผล
๑.การประเมินผลการตอบคำถามในชั้นเรียน นักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
๒.การประเมินผลจาก แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
๓.ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ

บันทึกหลังสอน

.......................................................................
.......................................................................

คำชี้แจงสำหรับครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑. ครูผู้สอนควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบกับการใช้ชุดการสอน
ให้เข้าใจ แล้วปฏิบัติตามกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้
๒. ครูผู้สอนชี้แจง และอธิบายวิธีการศึกษาชุดการสอนเล่มนี้ให้ผู้เรียนเข้าใจ
โดยละเอียด
๓. ชุดการสอนการอ่านจับใจความสำคัญใช้ประกอบการสอนในเวลาเรียนปกติและ
ใช้สอนเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อน หรือนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อยเรียนไม่ทันเพื่อนได้
๔. หลังจากการศึกษาจบ ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามแต่ละหน้า โดยครูผู้สอนแจก
กระดาษสำหรับทำกิจกรรม
๕. ครูอาจจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือชี้แนะนักเรียนได้ โดยเน้นย้ำเรื่องความซื่อสัตย์
ต่อตนเอง



คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑. ให้นักเรียนศึกษาชุดการสอนเล่มนี้ ไปทีละหน้า โดยไม่ข้ามหน้า
๒. ทำกิจกรรมตอบคำถาม แบบฝึกหัดทุกหน้าและแบบทดสอบ เมื่อศึกษาจบ
ในแต่ละเล่ม โดยไม่ดูคำตอบล่วงหน้า
๓. หากนักเรียนตอบไม่ถูกต้อง ให้กลับไปทบทวนบทเรียนใหม่ลองตอบคำถาม
ใหม่อีกครั้
๔. นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้จากหน้าภาคผนวก
๖. นักเรียนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพื่อเป็นการตรวจสอบตนเองว่า หลังจากที่
ได้ศึกษาบทเรียนแล้ว เกิดความรู้ความเข้าใจเพียงใด


ใบความรู้
พื้นฐานการอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ คือ การทำความเข้าใจเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน เป็นการอ่านเพื่อต้องการทราบว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้อ่าน
๑. ส่วนใจความสำคัญ
๒. ส่วนขยายใจความสำคัญ
๑. ส่วนใจความสำคัญ หมายถึง ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะกล่าวถึง ซึ่งบางครั้งไม่ได้
เขียนออกมาเป็นประโยค แต่เมื่ออ่านแล้วจะจับประเด็นได้ การค้นหาใจความสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องที่อ่านโดยการตั้งคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และเกิดผลอย่างไร
๒. ส่วนขยายใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความต่างๆ ที่อธิบายให้รายละเอียดหรือ
ยกตัวอย่างต่างๆ เพื่อประกอบให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจประเด็นสำคัญมากขึ้น ซึ่งมีวิธีการขยายใจความสำคัญ ดังนี้
๒.๑ ขยายโดยการอธิบายเป็นการอธิบายรายละเอียดหรือความหมายเกี่ยวกับคำจำกัดความ
๒.๒ ขยายโดยการยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจหรือเห็นด้วยกับเรื่องราวนั้นๆ ง่ายขึ้น
๒.๓ ขยายโดยการเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงข้ามกัน หรือเปรียบเทียบทำนองอุปมาอุปมัย เช่น ขาวกับดำ ใสเหมือนตาตั๊กแตน
๒.๔ ขยายโดยการกล่าวถึงเหตุผล การใช้เหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ ขึ้น
๒.๕ ขยายโดยการอ้างหลักฐาน อ้างบุคคล หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น บอกว่าใครพูดอะไรไว้ ข้อมูลได้มาจากที่ใด เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไร
๒.๖ ขยายโดยการใช้คำ เช่น เฉพาะย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ อนึ่ง อีกประการหนึ่ง ประการแรด เพื่อตั้งต้นอธิบายขยายความประโยคใจความสำคัญ


ใบมอบหมายงานที่ ๑
พื้นฐานการอ่านจับใจความ

คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่กำหนดให้แล้วหาใจความสำคัญและส่วนขยายใจความสำคัญ ซึ่งตอบเฉพาะหมายเลขเท่านั้น โดยเขียนลงในกระดาษคำตอบ

ข้อความที่ ๑
(๑)มีผู้กล่าวว่าหนังสือดีเป็นมิตร หนังสือเลวเป็นศัตรู (๒)เป็นหน้าที่ของท่านเองที่จะเลือกสมาคมมิตรหรือศัตรู (๓)หนังสือในตลาดมีอยู่มากมายก่ายกอง (๔) ถ้าท่านถือหนังสือในมือคนที่มาพบเห็นท่านย่อมตีราคาตัวท่านได้ทันที เขาย่อมรู้ได้ว่า ท่านมีพื้นเพการศึกษาเพียงใดมีรสนิยมสูงหรือต่ำเพียงไหน (๕)หนังสือที่ท่านถืออยู่นั้น เปิดโปงให้โลกรู้จักท่านโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ

ใจความสำคัญ คือ .......................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ ................................................


ข้อความที่ ๒
(๑)คนไม่อ่านหนังสือ คือคนถอยหลังอยู่ในสังคม (๒)เพราะทุกวันนี้โลกเจริญขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน (๓)มีเหตุการณ์ใหม่ๆ ปรากฏสืบเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย (๔)ทุกคนที่หวังความก้าวหน้า จึงต้องตามเรื่องเหล่านี้ด้วยการอ่านอย่างมิหยุดนิ่ง (๕)มิฉะนั้นเขาจะได้นามว่าเป็นผู้ถอยหลัง

ใจความสำคัญ คือ ...................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ ..............................................


ข้อความที่ ๓
(๑)ชูชาติบอกว่าตัวหนังตะลุงนั้นเมื่อก่อนทำเพื่อใช้ในการแสดงหนังตะลุงอย่างเดียว (๒)แต่เดี๋ยวนี้ทำเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกด้วย (๓)ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายตามร้านขายของที่ระลึกทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (๔)ตัวหนังตะลุงมีราคาต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำและขนาดของตัวหนังแต่ละตัว

ใจความสำคัญ คือ ....................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ .............................................




ใบมอบหมายงานที่ ๒ การอ่านจับใจความนิทาน
คำสั่ง ให้นักเรียนอ่านนิทานแล้วสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


ดาบวิเศษ


นานมาแล้วมีกิ้งก่าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้หนองน้ำในป่าลึก วันหนึ่งกิ้งก่าเดินไปพบดาบเล่มหนึ่งวางอยู่ที่ข้างหนองน้ำแห่งนั้น มันไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นนี้คืออะไรจึงร้องถามนกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ว่า” ท่านรู้ไหมว่า สิ่งนี้คืออะไร” นกตอบว่า “นั่นคือดาบวิเศษของนักรบผู้กล้าท่านหนึ่งดาบเล่มนี้ช่วยให้ท่านได้รับชัยชนะเหนือศัตรูตลอดมา” กิ้งก่าได้ฟังก็รำพึงขึ้นว่า “ถ้าเช่นนั้นสิ่งนี้ก็คงเป็นดาบวิเศษจริงๆ ตอนนี้ดาบวิเศษเป็นของข้าแล้วข้าก็จะเป็นผู้ชนะตลอดไปเช่นกัน
นับแต่นั้นมา กิ้งก่าจึงมักเอาดาบวิเศษติดตัวไปด้วยทุกหนแห่ง บรรดาสัตว์ป่าเมื่อได้ทราบเรื่องนี้จึงพากันมาหากิ้งก่าพร้อมกับบอกว่า “เมื่อท่านมีดาบวิเศษ ท่านก็สมควรที่จะเป็นพระราชาของพวกเรา” แล้วพวกมันต่างพากันโห่ร้องขึ้นว่า “ พระราชาจงเจริญ ”
กิ้งก่าเมื่อได้ยินก็รู้สึกเป็นสุขและภูมิใจในดาบวิเศษของมันยิ่งนักมันกลายเป็นพระราชาที่มีสัตว์ป่าตัวอื่นๆ เป็นทหารและมีหมาป่าเป็นองครักษ์ประจำตัวของมัน กิ้งก่านำทหารของมันไประรานสัตว์ตัวอื่นๆที่ไม่ยอมมาสวามิภักดิ์ด้วย
จนวันหนึ่งมีช้างตัวหนึ่งมาขอพบกิ้งก่าและทหารของมัน“ข้าได้ยินว่าเจ้ามีดาบวิเศษอยู่เล่มหนึ่งหรือ” ช้างเอ่ยถาม “ใช่แล้ว” กิ้งก่าตอบ ช้างจึงถามต่อไปอีกว่า “แล้วเจ้ารู้วิธีใช้ดาบเล่มนี้หรือเปล่า” กิ้งก่าตอบช้างว่า “ข้าไม่รู้หรอก” ช้างได้ยินคำตอบก็นึกโกรธ “เจ้าเป็นพระราชาได้อย่างไรในเมื่อเจ้าไม่รู้วิธีที่จะใช้ดาบวิเศษเล่มนี้ได้” ว่าแล้วช้างก็ยกเท้าขึ้นเหยียบกิ้งก่าจนตาย สัตว์ตัวอื่นๆ ที่เห็นเหตุการณ์จึงพากันวิ่งหนีหายไปจนสิ้น

ความนำ / จุดเริ่มต้น …………………………………………
เหตุการณ์ที่ 1 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 2 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 3 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 4 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 5 …………………………………....................
ผล / สรุป ………………………………………………………




ใบความรู้

การอ่านจับใจความนิทานมีหลักการอ่าน ดังนี้
๑. ชื่อเรื่อง เป็นจุดชี้ใจความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่บางเรื่อง ก็ยากต่อการจับใจความจึงพิจารณาส่วนอื่น
ประกอบด้วย

๒. พิจารณาข้อขัดแย้งของเรื่องแล้วติดตามผลข้อขัดแย้งเหล่านั้นว่าคลี่คลายและ
สิ้นสุดลงอย่างไร
๓. พิจารณาจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ตอนท้ายๆ ใกล้จบเรื่อง
๔. สรุปใจความของเรื่อง โดยการตอบคำถามให้ได้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม


ใบมอบหมายงานที่ ๓
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านนิทานต่อไปนี้แล้วจับใจความสำคัญของเรื่อง โดยเขียนคำตอบลงใน
กระดาษคำตอบ
เหยี่ยวแก่
มันเป็นวันที่ร้อนมาก เหยี่ยวแก่รู้สุกกระหายน้ำ เหยี่ยวแก่บินไปรอบๆ บริเวณ มันกำลังมองหาน้ำมันมาถึงที่ลำธาร ลำธารแห่งนี้แห้งมันจึงบินไปที่คลอง คลองก็แห้งด้วย
ต่อมาเจ้าเหยี่ยวแก่มองเห็นน้ำในเหยือก เจ้าเหยี่ยวแก่เอาหัวมุดเข้าไปในเหยือก แต่มันไม่สามารถเข้าไปถึงน้ำได้ เจ้าเหยี่ยวแก่พยายามล้มเหยือก แต่เหยือกไม่ขยับมันรู้สึกเสียใจมาก เจ้าเหยี่ยวแก่ก็หยิบก้อนหินเล็กๆ มา มันหย่อยหินลงไปในเหยือก ตอนนี้มีน้ำขึ้นมาถึงปากเหยือก เจ้าเหยี่ยวแก่สามารถเข้าไปถึงน้ำ มันดื่มน้ำอย่างมีความสุข

ย่อหน้าที่ ๑
คำถาม
๑. ตัวละครในย่อหน้านี้มีใครบ้าง ............................
๒.ตัวละครในย่อหน้านี้ทำอะไร .............................
๓. ผลของการกระทำเป็นอย่างไร ............................
ใจความสำคัญ : ......................................................
ย่อหน้าที่ ๒
คำถาม
๑. ตัวละครในย่อหน้านี้มีใครบ้าง .............................
๒. ตัวละครในย่อหน้านี้ทำอะไร ..............................
๓. ผลของการกระทำเป็นอย่างไร .............................

ใจความสำคัญ : ...............................................................
ใจความสำคัญของเรื่อง …………………………………………




บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
__________. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
__________. การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2550
สำลี รักสุทธี. แบบฝึกเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย. กรุงเทพฯ :
พัฒนาศึกษา, 2549
อัชชา แสงอัสนีย์. ภาษาไทย ป.4. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.), 2548