วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม ชุดการสอนเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญนิทาน

กลุ่มสาระภาษาไทย วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความประเภทนิทาน
ชื่อผู้สอน นางสาวพจนีย์ เซี่ยงว่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑ ชั่วโมง


สาระสำคัญ
การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการอ่าน เพื่อศึกษาหาความรู้ เป็นประโยชน์สำหรับการจดจำและทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่าน


จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอ่านจับใจความประเภทนิทานได้
จุดประสงค์นำทาง
๑. นักเรียนอธิบายความหมายของการอ่านจับใจความนิทานได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนอธิบายหลักการอ่านจับใจความสำคัญนิทานได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
การอ่านจับใจความสำคัญ
๑. ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
๒. สรุปหลักการการอ่านจับใจความสำคัญ

กระบวนการการเรียนรู้
๑. ขั้นอธิบายความหมายและวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ
๑.๑ จัดทำชั้นเรียน โดยให้นักเรียนนั่งประจำที่ตามปกติ
๑๒ เร้าความสนใจ โดยให้พูดคุยกับนักเรียนเรื่องนิทาน
๑.๓ ครูอธิบายความหมายและหลักการอ่านจับใจความ
๑.๔ อธิบายภาระงานโดยให้ผู้เรียนอภิปรายวิธีการอ่านจับใจความนิทาน
๑.๕ ปฏิบัติภาระงาน อธิบายความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ ตาม
แบบทดสอบก่อนเรียน (ใช้เวลา ๑๐ นาที)
๑.๖ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการช่วยกันเฉลยแบบทดสอบ ร่วมกันในชั้นเรียน
๑.๗ ประเมินผล สรุป และอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
๒. ขั้นอธิบายหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
๒.๑ จัดทำชั้นเรียน โดยการแบ่งนักเรียนเป็นแถวที่นั่งตามปกติ
๒.๒ เร้าความสนใจ โดยแจกนิทานให้นักเรียนแต่แถวเป็นรายบุคคล
๒.๓ กำหนดภาระงานให้นักเรียนแต่ละคนอ่านนิทานและจับใจความสำคัญ
๒.๔ ปฏิบัติภาระงาน อธิบายความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ โดยการอ่าน
นิทานและจับใจความสำคัญ เพื่อตอบคำถาม
๒.๕ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแต่ละคนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียนให้
เพื่อนในห้องฟัง
๒.๖ นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนแต่ละคนบอกคำตอบของตนเอง
๒.๗ ประเมินผล สรุป และอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม

สื่อการเรียนรู้
๑. ใบความรู้
๒. นิทานเรื่องชายหนุ่มกับสิงโต มดกับนกพิราบ ดาบวิเศษ เด็กเลี้ยงแกะ
แกะกับหมาป่า
๓. ใบมอบหมายงานที่ ๑ ใบมอบหมายงานที่ ๒
๔. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
๕. ชุดการสอน

การวัดผลและการประเมินผล
วิธีการวัดผล
๑. วัดผลจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
๒. วัดผลจากการแบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
๓. วัดผลจาการทำแบบทดสอบ
การประเมินผล
๑.การประเมินผลการตอบคำถามในชั้นเรียน นักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
๒.การประเมินผลจาก แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมรายบุคคล
๓.ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ

บันทึกหลังสอน

.......................................................................
.......................................................................

คำชี้แจงสำหรับครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑. ครูผู้สอนควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบกับการใช้ชุดการสอน
ให้เข้าใจ แล้วปฏิบัติตามกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้
๒. ครูผู้สอนชี้แจง และอธิบายวิธีการศึกษาชุดการสอนเล่มนี้ให้ผู้เรียนเข้าใจ
โดยละเอียด
๓. ชุดการสอนการอ่านจับใจความสำคัญใช้ประกอบการสอนในเวลาเรียนปกติและ
ใช้สอนเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อน หรือนักเรียนที่ขาดเรียนบ่อยเรียนไม่ทันเพื่อนได้
๔. หลังจากการศึกษาจบ ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามแต่ละหน้า โดยครูผู้สอนแจก
กระดาษสำหรับทำกิจกรรม
๕. ครูอาจจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือชี้แนะนักเรียนได้ โดยเน้นย้ำเรื่องความซื่อสัตย์
ต่อตนเอง



คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑. ให้นักเรียนศึกษาชุดการสอนเล่มนี้ ไปทีละหน้า โดยไม่ข้ามหน้า
๒. ทำกิจกรรมตอบคำถาม แบบฝึกหัดทุกหน้าและแบบทดสอบ เมื่อศึกษาจบ
ในแต่ละเล่ม โดยไม่ดูคำตอบล่วงหน้า
๓. หากนักเรียนตอบไม่ถูกต้อง ให้กลับไปทบทวนบทเรียนใหม่ลองตอบคำถาม
ใหม่อีกครั้
๔. นักเรียนสามารถตรวจคำตอบได้จากหน้าภาคผนวก
๖. นักเรียนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพื่อเป็นการตรวจสอบตนเองว่า หลังจากที่
ได้ศึกษาบทเรียนแล้ว เกิดความรู้ความเข้าใจเพียงใด


ใบความรู้
พื้นฐานการอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความ คือ การทำความเข้าใจเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน เป็นการอ่านเพื่อต้องการทราบว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้อ่าน
๑. ส่วนใจความสำคัญ
๒. ส่วนขยายใจความสำคัญ
๑. ส่วนใจความสำคัญ หมายถึง ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะกล่าวถึง ซึ่งบางครั้งไม่ได้
เขียนออกมาเป็นประโยค แต่เมื่ออ่านแล้วจะจับประเด็นได้ การค้นหาใจความสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องที่อ่านโดยการตั้งคำถาม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และเกิดผลอย่างไร
๒. ส่วนขยายใจความสำคัญ หมายถึง ข้อความต่างๆ ที่อธิบายให้รายละเอียดหรือ
ยกตัวอย่างต่างๆ เพื่อประกอบให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจประเด็นสำคัญมากขึ้น ซึ่งมีวิธีการขยายใจความสำคัญ ดังนี้
๒.๑ ขยายโดยการอธิบายเป็นการอธิบายรายละเอียดหรือความหมายเกี่ยวกับคำจำกัดความ
๒.๒ ขยายโดยการยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจหรือเห็นด้วยกับเรื่องราวนั้นๆ ง่ายขึ้น
๒.๓ ขยายโดยการเปรียบเทียบ เป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงข้ามกัน หรือเปรียบเทียบทำนองอุปมาอุปมัย เช่น ขาวกับดำ ใสเหมือนตาตั๊กแตน
๒.๔ ขยายโดยการกล่าวถึงเหตุผล การใช้เหตุผลที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นๆ ขึ้น
๒.๕ ขยายโดยการอ้างหลักฐาน อ้างบุคคล หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น บอกว่าใครพูดอะไรไว้ ข้อมูลได้มาจากที่ใด เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไร
๒.๖ ขยายโดยการใช้คำ เช่น เฉพาะย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ อนึ่ง อีกประการหนึ่ง ประการแรด เพื่อตั้งต้นอธิบายขยายความประโยคใจความสำคัญ


ใบมอบหมายงานที่ ๑
พื้นฐานการอ่านจับใจความ

คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่กำหนดให้แล้วหาใจความสำคัญและส่วนขยายใจความสำคัญ ซึ่งตอบเฉพาะหมายเลขเท่านั้น โดยเขียนลงในกระดาษคำตอบ

ข้อความที่ ๑
(๑)มีผู้กล่าวว่าหนังสือดีเป็นมิตร หนังสือเลวเป็นศัตรู (๒)เป็นหน้าที่ของท่านเองที่จะเลือกสมาคมมิตรหรือศัตรู (๓)หนังสือในตลาดมีอยู่มากมายก่ายกอง (๔) ถ้าท่านถือหนังสือในมือคนที่มาพบเห็นท่านย่อมตีราคาตัวท่านได้ทันที เขาย่อมรู้ได้ว่า ท่านมีพื้นเพการศึกษาเพียงใดมีรสนิยมสูงหรือต่ำเพียงไหน (๕)หนังสือที่ท่านถืออยู่นั้น เปิดโปงให้โลกรู้จักท่านโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ

ใจความสำคัญ คือ .......................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ ................................................


ข้อความที่ ๒
(๑)คนไม่อ่านหนังสือ คือคนถอยหลังอยู่ในสังคม (๒)เพราะทุกวันนี้โลกเจริญขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน (๓)มีเหตุการณ์ใหม่ๆ ปรากฏสืบเนื่องกันอย่างไม่ขาดสาย (๔)ทุกคนที่หวังความก้าวหน้า จึงต้องตามเรื่องเหล่านี้ด้วยการอ่านอย่างมิหยุดนิ่ง (๕)มิฉะนั้นเขาจะได้นามว่าเป็นผู้ถอยหลัง

ใจความสำคัญ คือ ...................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ ..............................................


ข้อความที่ ๓
(๑)ชูชาติบอกว่าตัวหนังตะลุงนั้นเมื่อก่อนทำเพื่อใช้ในการแสดงหนังตะลุงอย่างเดียว (๒)แต่เดี๋ยวนี้ทำเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกด้วย (๓)ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายตามร้านขายของที่ระลึกทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (๔)ตัวหนังตะลุงมีราคาต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำและขนาดของตัวหนังแต่ละตัว

ใจความสำคัญ คือ ....................................................
ส่วนขยายใจความสำคัญ คือ .............................................




ใบมอบหมายงานที่ ๒ การอ่านจับใจความนิทาน
คำสั่ง ให้นักเรียนอ่านนิทานแล้วสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


ดาบวิเศษ


นานมาแล้วมีกิ้งก่าตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้หนองน้ำในป่าลึก วันหนึ่งกิ้งก่าเดินไปพบดาบเล่มหนึ่งวางอยู่ที่ข้างหนองน้ำแห่งนั้น มันไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นนี้คืออะไรจึงร้องถามนกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ว่า” ท่านรู้ไหมว่า สิ่งนี้คืออะไร” นกตอบว่า “นั่นคือดาบวิเศษของนักรบผู้กล้าท่านหนึ่งดาบเล่มนี้ช่วยให้ท่านได้รับชัยชนะเหนือศัตรูตลอดมา” กิ้งก่าได้ฟังก็รำพึงขึ้นว่า “ถ้าเช่นนั้นสิ่งนี้ก็คงเป็นดาบวิเศษจริงๆ ตอนนี้ดาบวิเศษเป็นของข้าแล้วข้าก็จะเป็นผู้ชนะตลอดไปเช่นกัน
นับแต่นั้นมา กิ้งก่าจึงมักเอาดาบวิเศษติดตัวไปด้วยทุกหนแห่ง บรรดาสัตว์ป่าเมื่อได้ทราบเรื่องนี้จึงพากันมาหากิ้งก่าพร้อมกับบอกว่า “เมื่อท่านมีดาบวิเศษ ท่านก็สมควรที่จะเป็นพระราชาของพวกเรา” แล้วพวกมันต่างพากันโห่ร้องขึ้นว่า “ พระราชาจงเจริญ ”
กิ้งก่าเมื่อได้ยินก็รู้สึกเป็นสุขและภูมิใจในดาบวิเศษของมันยิ่งนักมันกลายเป็นพระราชาที่มีสัตว์ป่าตัวอื่นๆ เป็นทหารและมีหมาป่าเป็นองครักษ์ประจำตัวของมัน กิ้งก่านำทหารของมันไประรานสัตว์ตัวอื่นๆที่ไม่ยอมมาสวามิภักดิ์ด้วย
จนวันหนึ่งมีช้างตัวหนึ่งมาขอพบกิ้งก่าและทหารของมัน“ข้าได้ยินว่าเจ้ามีดาบวิเศษอยู่เล่มหนึ่งหรือ” ช้างเอ่ยถาม “ใช่แล้ว” กิ้งก่าตอบ ช้างจึงถามต่อไปอีกว่า “แล้วเจ้ารู้วิธีใช้ดาบเล่มนี้หรือเปล่า” กิ้งก่าตอบช้างว่า “ข้าไม่รู้หรอก” ช้างได้ยินคำตอบก็นึกโกรธ “เจ้าเป็นพระราชาได้อย่างไรในเมื่อเจ้าไม่รู้วิธีที่จะใช้ดาบวิเศษเล่มนี้ได้” ว่าแล้วช้างก็ยกเท้าขึ้นเหยียบกิ้งก่าจนตาย สัตว์ตัวอื่นๆ ที่เห็นเหตุการณ์จึงพากันวิ่งหนีหายไปจนสิ้น

ความนำ / จุดเริ่มต้น …………………………………………
เหตุการณ์ที่ 1 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 2 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 3 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 4 …………………………………………………
เหตุการณ์ที่ 5 …………………………………....................
ผล / สรุป ………………………………………………………




ใบความรู้

การอ่านจับใจความนิทานมีหลักการอ่าน ดังนี้
๑. ชื่อเรื่อง เป็นจุดชี้ใจความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่บางเรื่อง ก็ยากต่อการจับใจความจึงพิจารณาส่วนอื่น
ประกอบด้วย

๒. พิจารณาข้อขัดแย้งของเรื่องแล้วติดตามผลข้อขัดแย้งเหล่านั้นว่าคลี่คลายและ
สิ้นสุดลงอย่างไร
๓. พิจารณาจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ตอนท้ายๆ ใกล้จบเรื่อง
๔. สรุปใจความของเรื่อง โดยการตอบคำถามให้ได้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม


ใบมอบหมายงานที่ ๓
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านนิทานต่อไปนี้แล้วจับใจความสำคัญของเรื่อง โดยเขียนคำตอบลงใน
กระดาษคำตอบ
เหยี่ยวแก่
มันเป็นวันที่ร้อนมาก เหยี่ยวแก่รู้สุกกระหายน้ำ เหยี่ยวแก่บินไปรอบๆ บริเวณ มันกำลังมองหาน้ำมันมาถึงที่ลำธาร ลำธารแห่งนี้แห้งมันจึงบินไปที่คลอง คลองก็แห้งด้วย
ต่อมาเจ้าเหยี่ยวแก่มองเห็นน้ำในเหยือก เจ้าเหยี่ยวแก่เอาหัวมุดเข้าไปในเหยือก แต่มันไม่สามารถเข้าไปถึงน้ำได้ เจ้าเหยี่ยวแก่พยายามล้มเหยือก แต่เหยือกไม่ขยับมันรู้สึกเสียใจมาก เจ้าเหยี่ยวแก่ก็หยิบก้อนหินเล็กๆ มา มันหย่อยหินลงไปในเหยือก ตอนนี้มีน้ำขึ้นมาถึงปากเหยือก เจ้าเหยี่ยวแก่สามารถเข้าไปถึงน้ำ มันดื่มน้ำอย่างมีความสุข

ย่อหน้าที่ ๑
คำถาม
๑. ตัวละครในย่อหน้านี้มีใครบ้าง ............................
๒.ตัวละครในย่อหน้านี้ทำอะไร .............................
๓. ผลของการกระทำเป็นอย่างไร ............................
ใจความสำคัญ : ......................................................
ย่อหน้าที่ ๒
คำถาม
๑. ตัวละครในย่อหน้านี้มีใครบ้าง .............................
๒. ตัวละครในย่อหน้านี้ทำอะไร ..............................
๓. ผลของการกระทำเป็นอย่างไร .............................

ใจความสำคัญ : ...............................................................
ใจความสำคัญของเรื่อง …………………………………………




บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
__________. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
__________. การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้า
และพัสภัณฑ์, 2545
กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2550
สำลี รักสุทธี. แบบฝึกเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย. กรุงเทพฯ :
พัฒนาศึกษา, 2549
อัชชา แสงอัสนีย์. ภาษาไทย ป.4. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.), 2548

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆมาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน คือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์
คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

ทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย
คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น
ยาไทย ภูมิปัญญาไทย

การแพทย์แผนไทย เป็นการรวมศาสตร์เกี่ยวกับบำบัดโรค ทั้งการใช้ยาสมุนไพร หัตถบำบัด การรักษากระดูกและโครงสร้าง โดยอิงกับความ เชื่อทางสังคม วัฒนธรรม และธรรมชาติ เป็นความรู้ที่ไม่มีเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับหมอรักษาวิธีใดได้ผลก็ใช้วิธีนั้นสืบต่อกันมา
ยาไทยมาจากส่วนผสม 4 ประเภท คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ เช่น เกลือสมุทร กำมะถัน ทองคำ ดินปะสิว และจุลชีพ เช่น เห็ด รา โดยแพทย์หรือผู้จ่ายยาต้องรู้ลักษณะ สี กลิ่น รส ชื่อของสิ่งที่นำมาใช้ ประเภทและอาการของโรคอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ นอกจากนี้วิธีการปรุงยาก็มีหลายวิธีด้วยกันตามรูปแบบของยา เช่น กิน อาบ ดื่ม พอก หรือแช่ เป็นต้น

หัวกระทือสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำไปทำเป็นยาเเพทย์เเผนไทย

เอกสารอ้างอิง

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การละเล่นพื้นบ้าน

วัตถุประสงค์
1. นักเรียนรู้จักความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
2. นักเรียนสามารถอธิบายการละเล่นแต่ละชนิดได้
3. นักเรียนสามารถเล่นการละเล่นพื้นบ้านได้อย่างละ 1 ชนิด





การละเล่นพื้นบ้าน




การละเล่นพื้นบ้าน หมายถึง กิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่นดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของมนุษย์ ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญยาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดำวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติ
การละเล่นนับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป้นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมร์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดดารยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกับยาณมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต
การละเล่นของไทยไม่สามารถลำดับให้เห็นพัฒนาการตามกาลเวลาได้อย่างชัดเจนทั้งนี้เนื่องจากการละเล่นส่วนใหญ่เป็นกระบวนการถ่ายทอดด้วยการปฏิบัติ มิใช่ตำรา จึงขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะใช้เป็นข้อมูลในการสร้างลำดับอายุสมัยของการละเล่นแต่ละอย่างได้ยิ่งไปกว่านั้น การละเล่นของไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการพัฒนตนเองและค่อยเป็นค่อยไปเพราะจดจำสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง (ร.อ.หญิงปรียา หิรัญประดิษฐ์ ๒๕๓๓ : ๑๕) และโดยเหตุที่การละเล่นเกิดขึ้นมายาวนานและปรากฎอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นต่าง ๆ ดดยทั่วไป เช่นนี้ทำให้เกิดความหลากหลายของการละเล่นพื้สนบ้าน มีทั้งลักษณะร่วม และลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อย่างไรก็ดีสิ่งที่ตรงกันในทุกท้องถิ่นก็คือมีการละเล่นพื้นบ้านทั้งที่เป็นของเด็กและของผู้ใหญ่

การละเล่นภาคกลาง ตี่จับ
อุปกรณ์และวิธีการเล่นการเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง "ตี่" นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่" เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง "ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง "ตี่" ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่โอกาสหรือเวลาที่เล่นมักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณค่า/แนวคิด/สาระการเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน

การละเล่นภาคเหนือ เล่นโพงพาง
สถานที่เล่น สนาม ลานกว้างอุปกรณ์ ผ้าปิดตาจำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนวิธีเล่นยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆกติกาใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทนโอกาสเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป


การละเล่นภาคอีสาน ขี่ม้าก้านกล้วย
คนไทยรู้จักธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี เมื่อตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้านก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ใช้และรักษาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมอย่างชาญฉลาด เด็กไทยก็ดัดแปลงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาทำเป็นของเล่นได้อย่างเหมาะสมและสนุกสนานม้าก้านกล้วย เป็นของเล่นที่เด็กผู้ชายที่อยู่ในวัยซุกซนชื่นชอบมาก เด็กไทยทั่วไปจะรู้จักการเล่นม้าก้านกล้วยเป็นอย่างดีวิธีทำม้าก้านกล้วย ทำง่าย เด็กๆสามารถทำเล่นเองได้ ถ้าอยากเล่นม้าก้านกล้วย เด็กๆก็จะถือมีดเข้าไปในสวนหรือที่ทั่วไปตามบริเวณบ้านที่มีต้นกล้วย เพราะหมู่บ้านคนไทยจะปลูกต้นกล้วยไว้แทบทุกหลังคาเรือนเมื่อเลือกใบกล้วยที่มีความยาวพอเหมาะ ก็จะตัดใบกล้วยมา เอามีดเลาะเอาใบกล้วยออก เหลือไว้ที่ปลายใบเล็กน้อยเพื่อให้เป็นหางม้า ที่ก้านด้านโคนจะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าข้อมือของเด็กๆ ด้านนี้เอง เด็กๆจะกะความยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือสองคืบ แล้วเอามีดฝานแฉลบด้านข้างของก้านตรงที่กะไว้ฝานบางๆไปทางด้านโคนทั้งสองข้าง เพื่อให้เป็นหูม้า พอได้ขนาดหูยาวตามต้องการแล้วก็เอามือหักก้านกล้วยตรงที่กะจะให้เป็นโคนหูม้า ก้านกล้วยก็จะกลายเป็นรูปม้ามีหูม้าชันขึ้นทั้งสองข้าง เสร็จแล้วก็เอาแขนงไม้ใผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบเศษ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้ เสียบทะลุไปที่ก้าน ไม้ที่เสียบก็จะมีลักษณะเหมือนสายบังเหียนที่ผูกปากม้ากับคอม้า เสร็จแล้วก็ทำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็เสร็จ หาแขนงไม้ไผ่มา ๑ อัน ทำเป็นแส้ขี่ม้า ตอนนี้ก็พร้อมที่จะเล่นม้าก้านกล้วยได้แล้วการเล่นม้าก้านกล้วยก็แล้วแต่เด็กๆจะคิดเล่น เช่น เล่นควบม้าวิ่งแข่งกันหาคนชนะ ควบม้าจัดกระบวนทัพต่อสู้กัน หาอาวุธตามรั้วคือแขนงไม้ไผ่มาทำเป็นดาบรบกัน หรือจะวิ่งแข่งกันเป็นคู่ๆ หากไม่มีเพื่อนก็ควบเล่นคนเดียวที่ลานบ้านหรือเลี้ยวไปตามป่ากล้ายในสวนก็ได้ม้าก้านกล้วย นอกจากเด็กๆจะทำเล่นได้เอง วัสดุก็หาง่าย วิธีเล่นก็ฝึกความคิด ฝึกการเล่นเป็นหมู่คณะมีผู้นำ ผู้ตาม วิธีเล่นก็เหมาะกับเด็กๆ ได้ออกกำลังกาย ได้เคลื่อนไหวเหมาะแก่วัยของเด็กๆ ม้าก้านกล้วยเป็นการละเล่นที่ง่ายและมีประโยชน์และเป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ น่าสนใจอย่างยิ่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แข่งเรือบก
อุปกรณ์และวิธีการเล่นไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะโอกาสหรือเวลาที่เล่นส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์คุณค่า / แนวคิด / สาระนอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน


การละเล่นภาคใต้ เป่ากบ: การละเล่นของเด็ก
อุปกรณ์และวิธีการเล่นอุปกรณ์๑. ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด๒. ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้๓. สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะวิธีการเล่นเป่ากบเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นกันทั้งเด็กชายและหญิง ผู้เล่นมีจำนวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ ซึ่งผู้เล่นจะเอายางเส้น (ยางวง) จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้นของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกันโอกาสหรือเวลาที่เล่นการเล่นเป่ากบของเด็ก ส่วนใหญ่เล่นกันในเวลาที่ว่าง และมีอุปกรณ์พร้อมที่จะเล่นกันทั้งสองฝ่ายคุณค่า / แนวคิด/ สาระ๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วย๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำให้ต้องแพ้๓. เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี